เมนู

9. จันทนเถรคาถา



ว่าด้วยคาถาของพระจันทนเถระ


[331] ภรรยาผู้ปกคลุมด้วยเครื่องประดับล้วนแต่เป็นทอง
ห้อมล้อมด้วยหมู่ทาสี อุ้มบุตรเข้ามาหาเรา ก็เวลาที่เรา
เห็นภรรยาผู้เป็นมารดาของบุตรของเรานั้นตกแต่งร่างกาย
นุ่งห่มผ้าใหม่เดินมา เป็นดุจบ่วงมัจจุราชดักไว้ ความ
ทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย ก็เกิดขึ้นแก่เรา โทษ
แห่งสังขารทั้งหลาย ก็เกิดปรากฏแก่เรา ความเบื่อหน่าย
ก็ตั้งมั่น ลำดับนั้น จิตของเราหลุดพ้นแล้วจากกิเลส ขอ
ท่านจงดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรมดีเลิศ วิชชา 3 เรา
ได้บรรลุแล้ว เราได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.

จบจันทนเถรคาถา

อรรถกถาจันทนเถรคาถาที่ 9



คาถาของท่านพระจันทนเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ชาตรูเปน ดังนี้.
เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน
สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในกัปที่ 31 แต่ภัทรกัปนี้ เมื่อโลกว่างพระ-
พุทธเจ้า บังเกิดเป็นรุกขเทวดา เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่า สุทัสสนะ
อยู่ในระหว่างภูเขา มีจิตเลื่อมใส ได้กระทำการบูชาด้วยดอกอัญชันเขียว.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ใน

พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลเพียบพร้อมด้วยสมบัติ ในกรุง
สาวัตถี มีนามว่าจันทนะ เจริญวัยแล้ว อยู่ครองเรือนได้ฟังธรรมใน
สำนักพระศาสดา ได้เป็นพระโสดาบัน.
ท่านได้บุตรคนหนึ่ง ละฆราวาสบวชเรียนวิปัสสนากรรมฐานอยู่ใน
ป่า มายังกรุงสาวัตถีเพื่อถวายบังคมพระศาสดา อยู่ในป่าช้า, ภรรยาเก่า
ทราบว่าท่านมาแล้ว จึงประดับตกแต่งพาเด็กพร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก
ไปยังสำนักของพระเถระด้วยคิดว่า เราจะประเล้าประโลมให้ท่านสึกด้วย
มายาหญิงเป็นต้น. พระเถระเห็นหญิงนั้นกำลังเดินมาแต่ที่ไกล คิดว่า
บัดนี้เราจักไม่ใช่เป็นวิสัยของนาง จึงบำเพ็ญวิปัสสนาตามที่เริ่มไว้ ได้มี
อภิญญา 6 ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอุปทาน1ว่า
ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่ออัจจละ
พระพุทธเจ้า2พระนามว่าสุทัสสนะ ประทับอยู่ที่ซอกเขา
เราถือดอกไม้ที่เกิดในป่าหิมพานต์ เหาะขึ้นอากาศ ณ ที่
นั้น เราได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ข้ามพ้นโอฆะ ไม่มีอาสวะ
ครั้งนั้นเราถือเอาดอกอัญชันเขียว จบเหนือเศียรเกล้า
แล้ว บูชาแด่พระสยัมภูพุทธเจ้า ผู้แสวงหาประโยชน์
ใหญ่ ในกัปที่ 31 แต่กัปนี้ เราได้เอาดอกไม้ใดบูชา
ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธ-
บูชา เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . ฯ ล ฯ . . . พระพุทธ-
ศาสนาเราได้ทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็ท่านได้อภิญญาแล้ว ยืนอยู่บนอากาศแสดงธรรมแก่นาง ให้นาง

1. ขุ. อ. 33/ข้อ 107. 2.อรรถกถาว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า.

ตั้งอยู่ในสรณะและศีลแล้ว ตนเองไปยังที่ ๆ ตนเคยอยู่ในกาลก่อน. ถูก
ภิกษุผู้เป็นสหายถามว่า อาวุโส อินทรีย์ของท่านผ่องใสนักแล ท่านแทง
ตลอดสัจจะได้แล้วกระมัง เมื่อจะแสดงประวัติของตน จึงพยากรณ์
พระอรหัตผลด้วยคาถา1นี้ว่า
ภรรยาผู้ปกคลุมด้วยเครื่องประดับล้วนแต่เป็นทอง
ห้อมล้อมด้วยหมู่ทาสี อุ้มบุตรเข้ามาหาเรา ก็เวลาที่เรา
เห็นภรรยาผู้เป็นมารดาของบุตรของเรานั้นตกแต่งร่างกาย
นุ่งห่มผ้าใหม่เดินมา เป็นดุจบ่วงมัจจุราชดักไว้ ความทำ
ไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย ก็เกิดขึ้นแก่เรา โทษแห่ง
สังขารทั้งหลาย ก็เกิดปรากฏแก่เรา ความเบื่อหน่ายก็
ตั้งมั่น ลำดับนั้น จิตของเราหลุดพ้นแล้วจากิเลส ขอ
ท่านจงดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรมดีเลิศ วิชชา3 เราได้
บรรลุแล้ว เราได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชาตรูเปน สญฺฉนฺนํ ความว่า มี
ร่างกาย อันเครื่องประดับมีเครื่องประดับศีรษะเป็นต้น อันล้วนแล้ว
ด้วยทองคำปกคลุมไว้ โดยเป็นเครื่องประดับ, อธิบายว่า ประดับด้วย
อาภรณ์ทั้งปวง.
บทว่า ทาสีคณปุรกฺขตา ความว่า การทำไว้ข้างหน้า คือแวดล้อม
ไปด้วยหมู่ทาสีของตน ที่ประดับตกแต่งแล้วตามสมควร.
บทว่า องฺเกน ปุตฺตมาทาย ความว่า อุ้มบุตรตนด้วยคิดว่า
บุตรนี้พึงมีความสำราญเพราะอาศัยเรือน เพราะอาศัยเราบ้าง.

1. ขุ. เถร. 26/ข้อ 331.

บทว่า อายนฺตึ แปลว่า กำลังเดินมา.
บทว่า สกปุตฺตสฺส มาตรํ ได้แก่ หญิงผู้ให้บุตรคือโอรสของ
เราเกิด. อธิบายว่า ภรรยาเก่าของเรา. พระเถระสำคัญการตัดกามราคะ
ของตนทั้งหมดนี้ จึงได้กล่าวไว้มาก.
บทว่า โยนิโส อุทปชฺชถ ความว่า การกระทำไว้ในใจโดย
อุบายอันแยบคาย เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ว่า สมบัติชื่อแม้เห็นปานนี้ ถูกชรา
พยาธิและมรณะครอบงำ โอ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่เป็นที่
ไว้วางใจ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
จบอรรถกถาจันทนเถรคาถาที่ 9

10. ธัมมิกเถรคาถา



ว่าด้วยคาถาของพระธัมมิกเถระ


[332] ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมอันบุคคล
ประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรม
อันบุคคลประพฤติดีแล้ว ผู้ประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่
ทุคติ สภาพทั้งสองคือ ธรรมและอธรรม ย่อมมีวิบาก
ไม่เสนอกัน อธรรมย่อมนำไปสู่นรก ธรรมย่อมนำให้ถึง
สุคติ เพราะฉะนั้นแหละ บุคคลเมื่อบันเทิงอยู่ด้วยการ
ให้โอวาทที่พระตถาคตผู้คงที่ตรัสไว้อย่างนี้ ควรทำความ
พอใจในธรรมทั้งหลาย เพราะพระสาวกทั้งหลายของ
พระตถาคตผู้ประเสริฐ เป็นนักปราชญ์ ตั้งอยู่แล้วใน
ธรรม นับถือธรรมว่าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐสุด ย่อมนำตน
ให้พ้นจากทุกข์ได้ ผู้ใดกำจัดรากเหง้าแห่งหัวฝี ถอนข่าย
คือตัณหาได้แล้ว ผู้นั้นเป็นผู้สิ้นสงสาร ไม่มีกิเลสเครื่อง
กังวลอีก เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญปราศจากโทษ
ฉะนั้น.
จบธัมมิกเถรคาถา

อรรถกถาธัมมิกเถรคาถาที่ 10



คาถาของท่านพระธัมมิกเถระมีคำเริ่มต้นว่า ธมฺโม หเว ดังนี้.
เรื่องนั้น มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระเถระแม้นี้ ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน